แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำประจำปี

1. การจัดทำแผนงาน/แผนปฏิบัติการ ด้านทรัพยากรน้ำที่ผ่านมา
1.1 หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมากถึง 13 กระทรวง 48 หน่วยงาน แต่ละหน่วยงานต่างก็จัดทำแผนงาน/แผนปฏิบัติการ และเสนอขอตั้งงบประมาณ ไปตามพันธกิจที่กำหนด
1.2 ไม่มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ตอบสนองการขับเคลื่อนแผนแม่บทที่ชัดเจน
เกิดความซ้ำซ้อนของงาน ขาดการบูรณาการทำงานร่วมกัน
รวมทั้งไม่สามารถระบุผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์ที่เชื่อมโยง
สู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติได้
1.3 การประชุม กนช.
ครั้งที่ 4/2561 ได้มีมติเห็นชอบเห็นชอบหลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการ
เพื่อรองรับ ร่าง แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี
(พ.ศ.2561 – 2580) และสอดคล้อง ร่าง
พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. …. ณ ขณะนั้น โดยใช้กลไกลหน่วยงานนโยบาย
ประกอบด้วย สทนช. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
กระทรวงมหาดไทย และ สศช. รวบรวมและวิเคราะห์แผนงาน/แผนปฏิบัติการ
เสนอคณะกรรมการลุ่มน้ำให้ความเห็น และเสนอ กนช. พิจารณาเห็นชอบ
ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมาแผนงาน/แผนปฏิบัติการในมิติงบประมาณ Agenda แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จะได้ข้อมูลครบถ้วน แต่ในมิติงบประมาณ Function และ Area ยังรวบรวมในขั้นตอนการทำแผนได้ไม่ครบถ้วน
สทนช. จึงใช้วิธีการรวบรวมแผนงาน/แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำจาก
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
เพื่อให้มีข้อมูลในภาพรวม ซึ่งเป็นลักษณะการติดตาม
ไม่ใช่การจัดทำแผน
2. แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ
พ.ศ. 2561 มาตรา 17 (2) บรรลุเป้าหมายในการบูรณาการแผนงานและแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ
และสามารถขับเคลื่อนแผนแม่บท
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) รวมทั้ง กนช.
ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด …เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการของส่วนราชการ
หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด
สทนช. ในฐานะเลขานุการ
กนช.
และเป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการแผนงานและแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
ของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไป
ในทิศทางเดียวกันและมีเป้าหมายที่ชัดเจน ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
จึงจำเป็นต้องเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณด้านทรัพยากรน้ำ
ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ดังนี้
2.1 ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ
1) หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอแผนงาน/แผนปฏิบัติการเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและจัดทำแผนงานคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด
2) คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดส่งต่อแผนงาน/แผนปฏิบัติการระดับจังหวัดให้คณะกรรมการลุ่มน้ำพิจารณาให้ความเห็น และส่งแผนงาน/แผนปฏิบัติการระดับจังหวัดให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อไปผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงเจ้าสังกัด
3) หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำแผนงาน/แผนปฏิบัติการระดับจังหวัดที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด เพื่อเสนอกระทรวงเจ้าสังกัด และคณะกรรมการลุ่มน้ำให้ความเห็นต่อแผนงาน/แผนปฏิบัติการและส่งต่อมาให้ สทนช. ในฐานะเลขนุการ กนช. รวบรวมวิเคราะห์
4) กระทรวงเจ้าสังกัดส่งแผนงาน/แผนปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ สทนช. รวบรวมวิเคราะห์
5)
สทนช. ประมวล รวบรวม และกลั่นกรองแผนงาน/แผนปฏิบัติการลุ่มน้ำ
ทั้ง 22 ลุ่มน้ำ
ที่ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงเจ้าสังกัด และจัดลำดับความสำคัญของแผนปฏิบัติการ
ในระดับประเทศ จำแนกตามมิติงบประมาณ
และเป้าหมายตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำของประเทศ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ เพื่อเสนอ
กนช. พิจารณาเห็นชอบ
6) สทนช.
เสนอแผนงาน/แผนปฏิบัติการของประเทศที่ กนช. เห็นชอบ
ให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในการจัดทำงบประมาณประจำปี
7) สทนช.
รายงานแผนงานแผนปฏิบัติการของประเทศ ที่ กนช. และคณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้สำนักงบประมาณ
กระทรวงเจ้าสังกัดของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อดำเนินการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณประจำปี
8) กระทรวงเจ้าสังกัดของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นำแผนปฏิบัติการที่ผ่านความเห็นชอบจาก กนช. และคณะรัฐมนตรีเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณประจำปีต่อสำนักงบประมาณ
Leave a Comment